Skip to content
Home    »   รวมบทความเกี่ยวกับ Productive Life และการใช้ ClickUp    »   ClickUp To Go ( tutorial / วิธีใช้ )    »   เปรียบเทียบสินค้าก่อนตัดสินใจซื้อด้วย ClickUp Table ง่าย ชัดเจน และ Productive

เปรียบเทียบสินค้าก่อนตัดสินใจซื้อด้วย ClickUp Table ง่าย ชัดเจน และ Productive

clickup table view compare product

การเปรียบเทียบสินค้านั้นปกติก็คงใช้ Google Sheet หรือ Excel แต่วันนี้จะมาเสนออีกวิธีหนึ่งสำหรับคนที่ใช้ ClickUp เป็นประจำ ก็คือการใช้ ClickUp Table ที่เป็นอีกแนวทางที่ใช้งานไม่ยากและสวยงาม รวมถึงการ Filter เอาสินค้าที่ผ่านการคัดเลือกก็ทำได้ง่ายกว่า

ทำไมต้อง Table View ไม่ใช้ Spread Sheet ไปเลย

  • สามารถแชร์ให้กับคนอื่นได้ และสอบถามความเห็นได้
  • สามารถเปลี่ยนเป็น View อื่น เช่น Board View ได้
  • สามารถสั่งงานได้ในรูปแบบ Task เช่น ผมสั่งให้แฟนช่วยดูข้อมูลของสินค้าบางรุ่น

เริ่มต้นสร้าง Space

เบื้องต้นผมแนะนำ หากคุณยังไม่ได้สร้าง Space ส่วนตัว ให้ไปสร้างไว้ก่อนครับ และสร้างลิสต์ชื่อสินค้าที่ตัวเองต้องการเปรียบเทียบไว้ก่อน เช่น “เครื่องชั่งน้ำหนักวัดไขมัน”

ตัวอย่าง space และ list

ลิสต์คุณสมบัติของสินค้า

คุณสมบัติเหล่านี้จะต้องเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่คุณต้องการ ซึ่งผมจะยกตัวอย่างเป็นเครื่องชั่งน้ำหนักวัดไขมัน ซึ่งผมได้มาจากการศึกษาจากหลายๆ แหล่งจนทราบว่าปัจจัยหรือคุณสมบัติอะไรคือสิ่งที่จำเป็นในการเลือกซื้อให้เหมาะกับผม ซึ่งปัญหาของผมคือ ต้องการเครื่องชั่งที่วัดไขมันและกล้ามเนื้อได้แม่นยำกว่าเครื่องเดิมที่มีอยู่

ซึ่งคุณสมบัตินั้นผมจะแยกเป็น 2 ส่วน คือ คุณสมบัติที่จำเป็น และ คุณสมบัติช่วยในการตัดสินใจ

คุณสมบัติที่จำเป็น คือ ถ้าไม่มีคุณสมบัติเหล่านี้ผมจะตัดเครื่องชั่งรุ่นนั้นทิ้งไปเลย เพราะเป็นปัจจัยหลักที่ช่วยเพิ่มความแม่นยำ รวมถึงความสะดวกในการใช้งานของผม ได้แก่

  • Full Body Sensing คือ ต้องมีการส่งกระแสไฟเพื่อวัดค่าทั่วร่างกาย
  • Multi/Dual Frequencies คือ ต้องมีการส่งความถี่กระแสไฟเข้าไปวัดค่า เพื่อให้ได้ค่าที่ถูกต้องจริงๆ ทั้งภายนอก และภายในเซลล์
  • Mobile App คือ ต้องมีแอปให้ใช้งานที่มีประวัติการบันทึกข้อมูลย้อนหลัง เพราะผมต้องการติดตามผลการลดน้ำหนักและออกกำลังกายของตัวเอง

คุณสมบัติช่วยในการตัดสินใจ คือ ถ้าเจอสินค้ามากกว่า 1 รุ่นที่มีคุณสมบัติจำเป็นเหมือนกัน ถึงจะมาพิจารณาคุณสมบัติในข้อนี้ โดยจะให้ลำดับความสำคัญสูงอยู่บนสุด (เนื่องจากเวลาเอาไปลงคอลัมน์ของตารางจะไล่พิจารณาง่ายๆ จากซ้ายไปขวา) ซึ่งได้แก่

  • ราคา
  • ความถี่ (Frequency Detail) ค่าความถี่ที่ใช้
  • เชื่อมต่อกับ Apple Health ได้
  • การวัดค่าไขมันแบบแยกส่วน (Fat Segmentation) คือ ค่าไขมันที่มีการระบุแบบแยกระหว่าง ลำตัว, แขนซ้าย, แขนขวา, ขาซ้าย และขาขวา
  • การวัดค่ากล้ามเนื้อแบบแยกส่วนร่างกาย (Muscle Segmentation) คือ ค่ากล้ามเนื้อที่มีการระบุแบบแยกระหว่าง ลำตัว, แขนซ้าย, แขนขวา, ขาซ้าย และขาขวา
  • ค่าที่วัดได้
    • มวลไขมัน (Fat)
    • มวลกล้ามเนื้อ (Muscle)
    • ไขมันในช่องท้อง (V-Fat)
    • BMI
    • BMR
    • Body Age
    • Obesity Levels (ระดับความอ้วน – OL)
  • แอปนั้นใช้งานได้กี่คน (Users) เพราะซื้อมาแล้วต้องให้คนในบ้านชั่งด้วยได้
  • แอปนั้นบันทึกข้อมูลย้อนหลังได้กี่วัน (History)
  • แอปรองรับภาษาไทย (Thai)
  • Guest Mode คือ การวัดค่าแบบไม่จำเป็นต้องเปิดแอป
  • เวลาประมวลในการชั่งแต่ละครั้ง (Time)
  • มีแบตเตอร์รี่ในตัวหรือไม่ (Chargeable)
  • อายุการใช้งานแบตเตอร์รี่ (Batt. Life)
  • ระยะเวลารับประกัน

ระบุชนิด ClickUp Custom Fields

เมื่อลิสต์คุณสมบัติที่สำคัญมาแล้ว ก็นำมาสร้างเป็น Custom Fields ครับ โดยผมจะใช้แต่ละคุณสมบัติ เป็นแต่ละชนิด Custom Fields ดังนี้ครับ (ผมจะใส่ไอคอน 🌟 ให้กับ คุณสมบัติที่จำเป็น ) และใช้ชื่อย่อเพื่อให้ดูง่ายๆ ในตารางครับ

  • 🌟 Full Body Sensing – ชนิด ✅ Checkbox
  • 🌟 Frequencies – ชนิด 🔽 Dropdown
  • 🌟 Mobile App  – ชนิด ✅ Checkbox
  • ราคา – ชนิด 💰 Money
  • Frequency Detail – ชนิด 🔤 Text
  • Apple Health – ชนิด ✅ Checkbox
  • การวัดค่าไขมันแบบแยกส่วน (Fat Seg.) – ชนิด ✅ Checkbox
  • การวัดค่ากล้ามเนื้อแบบแยกส่วนร่างกาย (Muscle Seg.) – ชนิด ✅ Checkbox
  • ค่าที่วัดได้
    • มวลไขมัน (Fat) – ชนิด ✅ Checkbox
    • มวลกล้ามเนื้อ (Muscle) – ชนิด ✅ Checkbox
    • ไขมันในช่องท้อง (V-Fat) – ชนิด ✅ Checkbox
    • BMI – ชนิด ✅ Checkbox
    • BMR – ชนิด ✅ Checkbox
    • Body Age – ชนิด ✅ Checkbox
    • Obesity Levels (ระดับความอ้วน – OL) – ชนิด ✅ Checkbox
  • Users – ชนิด #️⃣ Number
  • History (วัน) – ชนิด #️⃣ Number
  • Thai – ชนิด ✅ Checkbox
  • Guest Mode – ชนิด ✅ Checkbox
  • Time (วินาที) – ชนิด #️⃣ Number
  • Chargeable – ชนิด ✅ Checkbox
  • Batt. Life (วัน) – ชนิด #️⃣ Number
  • ประกัน(ปี) – ชนิด #️⃣ Number

สร้าง Table View

  1. คลิกที่ + View
การเพิ่ม table view

2. เลือก Table และ Add Table

เลือก Table และ Add Table

3. จากนั้นเราจะได้ Table View มาด้วยชื่อตามที่เราได้ตั้งไว้

ตัวอย่าง Table View ที่สร้างใหม่

สร้างคอลัมน์ Table View ด้วย Custom Fields

เมื่อได้ตารางหรือ Table View มาแล้ว ต่อไปเราก็ทำการเพิ่ม Custom Fields ที่จะทำหน้าที่เป็นคอลัมน์ของตารางกันต่อครับ

**หาก Space ที่คุณใช้งานอยู่ไม่ได้เปิด ClickApps สำหรับ Custom Fields จำเป็นต้องไปเปิดใช้งานก่อนครับตามวิธีด้านล่าง

1. คลิกปุ่ม + ที่มุมขวาของตาราง

การเพิ่ม Custom Fields

2. เลือก New Column

เลือก New Column

3. จากนั้นก็เริ่มสร้าง Custom Field จากอันแรกสุดตามที่เราได้ลิสต์ไว้ ซึ่งของผมคือ Full Body Sensing ชนิด Checkbox

เลือกชนิด Checkbox
กรอกชื่อ custom field ชนิด checkbox

4. จากนั้นก็ไล่สร้างคอลัมน์ด้วย Custom Fields ไปเรื่อยๆ จนครบครับ และหากต้องการจัดเรียงตำแหน่งคอลัมน์ก็ทำได้ง่ายๆ 2 วิธีคือ

วิธีแรกคือ การย้ายไปหัวตาราง หรือ ท้ายตาราง โดยการคลิกเลือกคอลัมน์ที่เราต้องการ

คลิกเลือกคอลัมน์

จากนั้นคลิกขวาเราจะสามารถเลือกได้ว่าต้องการให้คอลัมน์นั้นๆ ไปอยู่หัวหรือท้ายตาราง

จัดเรียงตำแหน่งคอลัมน์ย้ายไปหัวตาราง หรือ ท้ายตาราง

อีกวิธีคือการลากวาง วิธีลากวาง ก็คือเรานำเมาส์ไปวางบนชื่อคอลัมน์จนเป็นสีเทาเข้ม จากนั้นคลิกเพื่อลากไปซ้าย หรือ ขวาของคอลัมน์อื่นๆ

คลิกหัวคอลัมน์ที่ต้องการลากวาง

**ปกติผมจะใช้ 2 วิธีร่วมกันถ้ามีคอลัมน์เยอะๆ คือ เมื่อต้องการย้ายไปคอลัมน์ต้นๆ ตาราง ผมจะเลือกให้ไปที่คอลัมน์แรกก่อนแล้วค่อยลากขยับถอยไป

สร้างสินค้าด้วย ClickUp Task

เมื่อได้ตารางและคอลัมน์มาแล้วเราก็สามารถกรอกชื่อสินค้าและรุ่นได้เลย

กรอกชื่อ task ใน table view

โดยจำเป็นต้องกรอกชื่อ Task ก่อน และกด SAVE จึงสามารถกรอกข้อมูลคอลัมน์ต่างๆ ได้

ตัวอย่าง task และ custom fields ใน table view

คัดเลือกสินค้าที่ผ่าน โดยการ Filter

เนื่องจากผมได้กำหนดคุณสมบัติหลักที่ต้องผ่าน 5 คุณสมบัติ ผมเลยจะใช้การ Filter ว่า 5 Custom Fields นี้จำเป็นต้องมีค่าตามต้องการ ดังนี้

1. คลิก Filter

ภาพ 6

2. เลื่อนป๊อปอัปลงมาล่างๆ จะเจอ Custom Fields ที่เราสร้างขึ้นมาเอง ซึ่งผมจะเลือก 5 คุณสมบัติหลัก

ป๊อปอัปเลือก Custom Fields

3. กำหนดค่าเงื่อนไขตามชนิดของ Custom Field เช่น Checkbox จะเลือกเป็น Is checked

กำหนดเงื่อนไขที่ต้องการ filter

จากนั้นผมจะเลือก Custom Field อื่นๆ ไปจนครบ 5 คุณสมบัติ โดยใช้เงื่อนไข AND

เลือก Custom Field อื่นๆ ไปจนครบ

ทำให้เหลือรุ่นที่ตรงตามต้องการดังนี้

ผลลัพธ์จากการ filter ใน table view

สรุป

การใช้งาน ClickUp Table View นั้นสามารถประยุกต์ไปใช้ได้อีกหลายอย่าง โดยเฉพาะใช้เพื่อเก็บข้อมูลที่มีคอลัมน์หรือ Custom Fields จำนวนมากๆ

แหล่งอ้างอิง

อยากได้บทความเรื่องอะไร หรือ หัวข้อแนวไหน สามารถแนะนำกันมาได้ที่แบบฟอร์มนี้เลยครับ ซึ่งข้อมูลที่ส่งจากแบบฟอร์มนี้จะถูกไปสร้างเป็น Clickup Task และสั่งงานผม ให้อัตโนมัติเลยครับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *