วันนี้ผมจะมารีวิวแอปบนมือถือที่ทาง ClickUp สร้างขึ้นเพื่อให้ใช้ในการจัดการงานต่างๆ โดยตัวแอปจะมีเพียงฟีเจอร์พื้นฐาน เพื่อให้ใช้งานง่ายๆ เมื่ออยู่นอกสถานที่และไม่มีคอมพิวเตอร์ หรือใช้ในการบริหารงานส่วนตัวในชีวิตประจำวัน ซึ่งตอนนี้เวอร์ชั่นล่าสุดคือ ClickUp Mobile 3.0 แต่ยังไม่ได้เปิดให้ใช้กันทุกคนนะครับ ต้องมีการ Join The Waitlist ไว้ก่อน สำหรับคนที่ไม่ได้ join ไว้ ก็มาดูกันในบทความนี้ได้เลยครับ ว่ามีอะไรแปลกใหม่ หรือช่วยให้ Productive ขึ้นบ้าง หากคุณเคยใช้งานมาแล้วจะหยิบเวอร์ชั่น 2.0 มาเทียบดูไปด้วยก็ได้นะครับ จะได้เห็นความแตกต่างมากยิ่งขึ้น
แต่หากคุณยังไม่เคยใช้งานแอปมือถือ ClickUp เลยก็สามารถดูไว้เป็นแนวทางได้นะครับเพราะอีกไม่นานก็คงจะอัปเดทเป็นเวอร์ชั่น 3.0 แล้ว
หน้า Home
มาเริ่มกันที่หน้า Home นะครับ ซึ่งหน้าตาก็มินิมอลตามภาพด้านล่างเลยครับ รายละเอียดต่างๆ ของหน้า Home ผมจะแยกเป็นหัวข้อย่อยๆ พูดถึงต่อไปครับ

การปรับแต่งหน้า Home
การปรับแต่งหน้า Home สามารถเข้าตั้งค่าได้จากไอคอนที่มุมบนขวา

โดยเมื่อกดแล้วจะแสดงการตั้งค่าหน้า Home (Home settings) ดังภาพ

ซึ่งเราสามารถปรับแต่งได้ 4 ส่วนหลักๆ คือ
1. Choose your Cards – การตั้งค่า Cards (ดูรายละเอียดที่ หัวข้อถัดไปที่ชื่อ Home Cards)
2. Multiline titles – การตั้งค่าให้แสดงชื่อ Task ได้หลายบรรทัด สำหรับคนที่ไม่อยากให้หน้า Home รกเกินไป
3. Item breadcrumbs – การตั้งค่าให้แสดงชื่อ Space และ ชื่อ List


4. My Calendar settings – การตั้งค่าปฏิทิน คือการเปิด-ปิดการแสดงผลปฏิทินที่ซิงค์กับ ClickUp เช่น Google Calendar รวมถึงสามารถตั้งค่าเพิ่มเติมเกี่ยวกับแสดง Future task ดังภาพ

Home Cards
Cards ก็เปรียบเหมือนพื้นที่ส่วนนึงหรือโซนๆ นึงที่แสดงผลอะไรบางอย่างในหน้า Home ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการให้หน้า Home แสดงผลอะไรบ้าง เช่น
- งานที่เราถูก Assign (My work card)
- สิ่งที่เรา Favorites ไว้ (Favorites card)
- เป็นต้น
เมื่อกดที่ปุ่ม Customize เราจะเห็นหน้า Card settings ดังภาพ


โดยใน Card settings จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. Active – Cards ที่แสดงผลในหน้า Home
2. Hidden – Cards ที่ไม่ได้แสดงผลในหน้า Home
ซึ่งประกอบไปด้วย Cards ต่างๆ ได้แก่
- My Work: ดูงานที่ถูก Assign ที่จัดกลุ่มตาม due date แสดงผลในรูปแบบเมนู Tab
- Recents: ดู Tasks หรือ Docs ที่เพิ่งสร้าง หรือ เคยเปิดในมือถือหรือบนคอมพิวเตอร์
- Tray: ถาดเก็บงาน (ที่เรา minimize task ไว้บนคอมพิวเตอร์)
- Reminders: ดู Reminders ทั้งหมดในที่เดียว
- Favorites: เข้าถึงทุกๆ สิ่งที่เรากด Favorites
- Calendar: Task ที่ถูก Assign และ Events ใน Google Calendar
- Legacy My Work – เหมือนกับ My Work แต่จะแสดงในรูปแบบกลุ่มรายการ (เวอร์ชั่น 2.0 จะแสดงแบบนี้)
- Legacy Assigned Comments – แสดงรายการ Comment ที่เราถูก Assign
หลังจากกด Done หน้า Home จะเปลี่ยนการแสดงผลตามที่เราได้ตั้งค่าไว้ใน Card settings ดังภาพ


จากภาพด้านบน จะเห็นว่า โซนของ Card แต่ละอัน จะมีปุ่ม See all ให้เรากดเข้าไปดูเฉพาะของ Card นั้นๆ ได้ด้วย
ในการเข้าถึง Card settings สามารถเข้าถึงได้ 3 แห่ง ได้แก่
1. ตรงกลางหน้า Home
วิธีนี้จะใช้งานได้แค่ครั้งแรกที่เปิดแอป ClickUp Mobile 3.0 นะครับ เพราะเป็นเหมือนการแนะนำฟีเจอร์ใหม่ โดยกดที่ปุ่ม Customize ที่ตำแหน่งนี้ และเมื่อเรากด Dismiss หรือกด Customize บริเวณ Welcome Home และ ปุ่มเหล่านี้จะหายไป

2. ด้านล่างสุดหน้า Home

3. ที่เมนู Home settings (ตามที่ได้พูดถึงไปแล้วในหัวข้อ การปรับแต่งหน้า Home)

ช่องทางลัดเพื่อสร้าง Task
จะแสดงผลเด่นอยู่แทบจะทุกหน้าของแอปนะครับ เพราะเป็นสิ่งที่เราใช้กันบ่อยที่สุด โดยแสดงที่มุมล่างขวา เป็นไอคอน +

เมื่อกดปุ่ม + แล้ว จะมีป๊อปอัปสร้าง Task เด้งขึ้นมา ดังภาพ

Navigation Toolbar
Navigation Toolbar นี้ก็จะเหมือนแอปปกติทั่วๆ ไป ที่มีไว้สำหรับเข้าถึงหน้าแอปต่างๆ (สามารถเปิด-ปิดได้ที่ Settings หัวข้อถัดไป)

โดยมี 4 เมนูหลัก ได้แก่
1. Home
2. Inbox – จะแสดงการแจ้งเตือนต่างๆ เช่น มีการ Comment ถึงคุณ, งานที่คุณถูก Assign, งานที่คุณรับผิดชอบมีการเปลี่ยนสถานะหรือ Due date เป็นต้น
3. Search – สำหรับค้นหา Task หรือไอเทมที่ต้องการ (สามารถเข้าถึงได้ด้วยเมนูด้านซ้ายด้วยเช่นกัน)
4. ฟีเจอร์ที่ใช้บ่อยๆ

เมื่อกดแล้วจะเจอฟีเจอร์ที่เราใช้ทำงานบ่อยๆ ดังภาพ

ได้แก่
- New Task – สร้าง Task ใหม่
- Remider – สร้าง Reminder ใหม่
- Notepad – บันทึกโน๊ตต่างๆ
- New Doc – สร้าง Doc ใหม่
- Track Time – จับเวลาการทำงาน
เมนูด้านซ้าย
เมนูด้านซ้ายสามารถเปิดใช้งานโดยการคลิกที่ มุมบนซ้าย

เมื่อกดแล้วจะแสดงแถบเมนู ดังภาพ

ซึ่งจะมีส่วนประกอบต่างๆ ดังนี้ครับ
ชื่อ Workspace
Workspace นั้นหากให้เปรียบในด้านการทำงานก็เปรียบเสมือนกับองค์กรต่างๆ เพราะบางคนอาจทำงานมากกว่า 1 ที่ ก็จำเป็นต้องมีหลาย Workspaces หรือ หากคุณใช้เพื่อจัดการงานในชีวิตส่วนตัวด้วยก็ควรจะแยก Workspaces ระหว่างการทำงานและการจัดการในชีวิตส่วนตัวออกจากกัน เนื่องจากสมาชิก หรือ Member คนละกลุ่มกัน และฟีเจอร์ที่จำเป็นต้องใช้มีความซับซ้อนต่างกัน
โดยคุณสามารถเลือกสลับ Workspace ได้ โดยการคลิกที่ชื่อ Workspace ปัจจุบัน

จากนั้นจะมีป๊อบอัปแสดง Workspace ที่เรามีทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีปุ่ม Create Workspace สำหรับสร้าง Workspace เพิ่มในจุดนี้ด้วย

ไอคอน ⚙️ หรือ Setting

เมื่อกดเข้าไปแล้ว จะแสดงการตั้งค่าต่างๆ ได้แก่
1. แสดงรูป Avatar, ชื่อ และ อีเมล์ ของเรา
2. หัวข้อตั้งค่าทั่วไป (General) ได้แก่ เสียงเอฟเฟกต์, แถบเครื่องมือนำทาง, หน้าเริ่มต้นการใช้งาน, การเลือกใช้เวอร์ชั่น Clickup ดังภาพ

3. หัวข้อตั้งค่าธีม ได้แก่ แบบมืด, แบบสว่าง และ แบบตามระบบเดิม ดังภาพ

4. หัวข้อ Support จะเป็นส่วนที่ให้ความช่วยเหลือ 2 ส่วน ได้แก่ Help center (พาไปหน้าค้นหาข้อมูลและวิธีการ) และ Report a bug (พาไปหน้าแบบฟอร์มรายงานการพบบัค)

5. หัวข้อ About จะแสดงข้อมูลเกี่ยวกับ ClickUp ที่เราสามารถดูได้ เช่น Roadmap (View our roadmap), ขอบเขตการให้บริการ (Terms of service), นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy), เวอร์ชั่นแอป (App version) และเราสามารถเข้าไปโหวตฟีเจอร์ใหม่ได้ด้วย (Vote on new features) ดังภาพ

6. หัวข้อ More จะประกอบไปด้วย 2 ส่วน ได้แก่ ปุ่มให้คะแนนแอป (Rate this app) และ ปุ่มรีเซ็ตรหัสผ่าน (Reset Password) ดังภาพ

7. ปุ่ม Log out
ช่อง Search

เมื่อกดที่ช่อง Search (หากเปิดใช้ Navigation Bar ก็สามารถเข้าถึงได้ด้วยเมนู Search เช่นกัน) แล้วจะมีป๊อปอัปหน้า Search เด้งขึ้นมา ดังภาพ

ซึ่งสามารถค้นหาได้ทั้ง Tasks, Files และ Docs
เมนูอื่นๆ
1. เมนู Home
2. เมนู Inbox
3. เมนู Favorites – จะเป็นที่ที่รวบรวมรายการต่างๆ ที่เรากด Favorite ไว้ เมื่อคลิกที่เมนูแล้วจะแสดงรายการที่เรากด Favorite ดังภาพ

4. เมนู Space – เมนูนี้คืออีกเมนูหลักที่คุณใช้บ่อย เพราะจะเป็นการเข้าถึง Space, List และ Folder ต่างๆ โดยเมื่อคลิกที่เมนูแล้ว จะแสดง Space ทั้งหมด ดังภาพ

หากเรามี Space เยอะมากๆ เราสามารถเสิร์ชหา Space ที่ต้องการได้ที่ไอคอนแว่นขยาย ดังภาพ

เมื่อคลิกที่ไอคอนแล้ว จะมีช่องให้กรอกคำค้นหา ดังภาพ

นอกจากนี้ เราสามารถสร้าง Space ใหม่ได้ด้วยการคลิกที่ ไอคอน ➕ ดังภาพ

เมื่อคลิกที่ไอคอนแล้ว จะมีป๊อปอัป Create Space เด้งขึ้นมาให้เรากรอกชื่อ Space โดยเราสามารถกำหนดความเป็นส่วนตัวของ Space ได้เลยที่หัวข้อ Privacy รวมถึงสามารถตั้งค่าสถานะและสีของ Space ได้ที่หัวข้อ Space settings ดังภาพ

5. เมนู Dashboards – หน้า Dashboards คือหน้ารายงานที่เราได้สร้างไว้เพื่อแสดงผลสิ่งที่เราต้องการเช่น รายงานปริมาณงานที่สมาชิกแต่ละคนรับผิดชอบ, เวลาที่สมาชิกทำงานในแต่ละวัน, ความคืบหน้าของโครงการ และอื่นๆที่เป็นประโยชน์ในการติดตามงานซึ่งเหมาะให้ระดับหัวหน้าหรือผู้บริหารเข้ามาดูภาพรวม
ซึ่งการตั้งค่านั้น จำเป็นต้องทำผ่านเว็บหรือแอปบนคอมพิวเตอร์ ไม่สามารถตั้งค่าผ่านแอปมือถือได้ โดยจะแสดงผลในรูปแบบ Card เช่นเดียวกับหน้า Home

หากเรามี Dashboards เยอะ เราสามารถเสิร์ชหาได้ที่ไอคอน 🔍 ดังภาพ

เมื่อคลิกที่ช่องเสิร์ช จะมีช่องให้กรอกคำค้นหา ดังภาพ

6. เมนู Docs – Doc คือเอกสาร ที่เกี่ยวข้องงานหรือ Task ต่างๆ
เมื่อคลิกที่เมนูแล้ว จะแสดงเมนูย่อย 4 รายการ ซึ่งเป็นการฟิลเตอร์ Docs ตามความเป็นส่วนตัวและที่เราถูก Assign ดังภาพ

ได้แก่
- All – แสดงรายการ Docs ทั้งหมด
- Assigned to me – แสดงรายการ Docs ที่เราถูก Assigned
- Shared with me – แสดงรายการ Docs ที่แชร์ให้เรา
- Private – แสดงรายการ Docs ของเราที่ตั้งค่าเป็นส่วนตัว (ไม่แชร์กับคนอื่น)
หน้า Inbox
หน้า Inbox เป็นหน้าที่เอาไว้เช็คการแจ้งเตือนต่างๆ ซึ่งแบ่งเป็น 4 แท็บ ดังรูป

- แท็บแรกคือการคัดกรองการแจ้งเตือน ด้วยสิ่งเหล่านี้
- Important – แจ้งเตือนล่าสุด เช่น การถูก Assign งาน, งานใกล้ถึงกำหนด, งานเกินกำหนด, เมื่อมีคน Comment หาคุณ และอื่นๆ (หากคุณต้องการดูว่าแจ้งเตือนอะไรบ้าง สามารถดูหรือตั้งค่าเปิด-ปิด ได้ผ่านเว็บ โดยไปที่ Settings -> Notifications)
- Other – การแจ้งเตือนเก่าๆ
- Snoozed – การแจ้งเตือนที่ถูกเลื่อนออกไป
- Cleared – คือการแจ้งเตือนที่คุณได้จัดการไปแล้ว
- Assigned to me – ดูการแจ้งเตือนเฉพาะที่เราถูก Assign
- Mentions – ดูการแจ้งเตือนที่คุณถูก Mention
- Unread – ดูเฉพาะการแจ้งเตือนที่คุณยังไม่เคยเปิดดู
Swiping actions
และเมื่อสไลด์การแจ้งเตือนใดๆ ไปทางด้านขวา จะพบการตั้งค่า Mark as unread

และเมื่อสไลด์ไปทางด้านซ้าย จะพบการตั้งค่า Snoozed และ Cleared ด้วยไอคอนดังภาพ

ข้อมูลการแจ้งเตือน
เราสามารถดูข้อมูลการแจ้งเตือนได้ด้วยการคลิกที่การแจ้งเตือนที่เราต้องการ เมื่อคลิกแล้วจะแสดงรายละเอียด ดังภาพ

และที่แถบด้านบนสุด จะเป็นการตั้งค่าการแจ้งเตือนเหมือนกับตอนที่เราเอานิ้วสไลด์การแจ้งเตือนไปทางด้านซ้าย คือ Mark as unread แต่ที่เพิ่มมาคือไอคอน กระดิ่ง ซึ่งก็คือการปิดไม่ให้แจ้งเตือนงานนี้อีก คล้ายเวลาเล่นไลน์แล้วคุณกด Mute ไว้ (Update : ล่าสุดเพิ่มปุ่ม Snoozed มาด้วยในบริเวณนี้)

ส่วนไอคอนลูกศรขึ้น-ลง ดังภาพ ใช้กดเพื่อดูการแจ้งเตือนอันก่อนหน้า และ อันถัดไป (Update : ล่าสุดใช้วิธี ปัดไป ซ้าย-ขวา เพื่อดูการแจ้งเตือนก่อนหน้าและถัดไป)

สามารถกด Favorite งานที่ถูกแจ้งเตือนได้ทันที ที่ไอคอนรูป ⭐ ดังภาพ
เราสามารถกดดูรายละเอียดใน Task ได้ 2 วิธี คือ
- กดที่ชื่อ Task ดังภาพ

- กดที่ปุ่ม Open task ที่อยู่ด้านล่างสุด ดังภาพ

(Update : จากภาพด้านล่าง ล่าสุด ปุ่ม Send to Tray ไม่มีแล้ว)

หน้า Task
ในหน้า Task แบ่งเป็น 2 แท็บ คือ Detail และ Activity ดังภาพ

แท็บ Details

ในหน้าของแท็บ Details ประกอบไปด้วย
1. Location task – เมื่อกดที่ชื่อ Location ดังภาพ ระบบจะพาไปหน้า List ของ Task

2. ปุ่ม ➕ (อยู่ข้างๆ Location task) – ใช้เมื่อเราต้องการให้ Task นี้อยู่ใน List อื่นๆ ด้วย

เมื่อกดที่ปุ่ม จะมีป๊อปอัป Pick a location ให้เลือก ดังภาพ โดยเราสามารถเลือก Location ได้หลายอัน

เมื่อเลือก Location เสร็จแล้ว จะเป็นดังภาพ

3. แถบการจัดการ Task ใต้ Task name – จะแสดง สถานะ, Watcher, Due date, Priority, Tags, Track time และ Task ID ดังภาพ

โดยเราสามารถจัดการตั้งค่าต่างๆ ได้ที่บริเวณนี้
4. Description

เมื่อกดปุ่ม See all จะสามารถอ่าน Description ได้เพียงอย่างเดียว แต่ถ้าต้องการแก้ไข จะต้องกดที่ปุ่มรูปดินสอ ดังภาพ

5. Subtask – เรียงลำดับการดูง่ายมากๆ แต่ถ้าหากมีเยอะ ต้องกดดูทั้งหมดที่ปุ่ม See all

6. Checklists – สำหรับใช้กับการจัดสิ่งของที่ต้องเตรียมหรือที่ต้องซื้อ คงหนีไม่พ้นการใช้งาน Checklists โดยเริ่มต้นจะต้องกดที่ Add checklist ก่อน ดังภาพ

จากนั้นเราจะได้ Checklist ดังภาพ เราต้องกดที่ Checklist ในภาพอีกครั้งเมื่อจะใส่รายการ Checklist

เมื่อกดแล้วจะเจอป๊อปอัป Checklist ดังภาพ เราสามารถใส่รายการ Checklist ได้ด้วยการกดที่ + Add item

7. Attachments – สามารถแนบไฟล์ได้ 2 จุด ได้แก่
- กดที่ + Upload attachment ในแท็บ Details ดังภาพ

- กดที่ See all ของ Attachment ดังภาพ

แล้วกดปุ่ม + Upload attachment ดังภาพ

แท็บ Activity
แท็บนี้จะแสดงกิจกรรมที่มีการทำภายใน Task นี้ ไม่ว่าจะเป็น การเปลี่ยนสถานะ, เพิ่ม – ลบ Watcher, กำหนด หรือ เปลี่ยน Due date, กำหนดหรือเปลี่ยน Priority, กำหนด Tags, การจับเวลาทำงาน, การสั่งงาน, การ mention, การ Comment และอื่นๆ ที่เกี่ยวกับ Task ดังภาพ

เมื่อกดที่ Show xx updates ดังภาพ

จะแสดงรายการกิจกรรมของ Task ดังภาพ

ในส่วนของ Comment เมื่อเรากดค้างที่ไอคอนแสดงความรู้สึก (ไอคอนรูปมือ 👍)

จะมีป๊อปอัปรูปอิโมจิต่างๆ เด้งขึ้นมา ดังภาพ

(Update : ล่าสุดไม่จำเป็นต้องกดค้างก็ได้ เพราะมีไอคอนอีโมจิ เพิ่มให้แล้วดังภาพ)

ไอคอนมุมบนขวา
มี 3 ไอคอน ได้แก่
1. ไอคอนรูปดาว ⭐ – สามารถกด Favorite ได้เลย
2. ไอคอนรูปแชร์ – เมื่อกดที่ไอคอนจะมีป๊อปอัป Share with ดังภาพ

3. ไอคอนจุด 3 จุด … – เมื่อกดไป จะไปเจอกับป๊อปอัป Task option ดังภาพ

ซึ่งประกอบไปด้วย
- ปุ่ม Copy ID – สามารถคัดลอก Task ID ได้
- ปุ่ม Share link – สามารถคัดลอก Task link ได้
- ปุ่ม Copy name – สามารถคัดลอก Task name ได้
- ปุ่ม Watchers – สามารถกดเพิ่มหรือลบ Watchers ได้ เมื่อกดที่ปุ่มจะมีป๊อปอัป Watchers ดังภาพ

- ปุ่ม Unwatch – สามารถลบตัวเองจากการเป็น Watchers ได้ทันที โดยไม่ต้องกดหลายครั้ง (กดหลายครั้งคือ กดที่ปุ่ม Watchers > กด ❌ > กดปิดป๊อปอัป)
- ปุ่ม Share email to task
- ปุ่ม Favorite
- ปุ่ม Send to Tray
- ปุ่ม Move Task
- ปุ่ม Archive
- ปุ่ม Delete
สรุป
จากที่ได้ลองใช้งานมาทั้งหมดนะครับ สำหรับคนที่เคยใช้ 2.0 มาก่อน ก็คงเห็นว่าเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก แต่ที่จะทำให้รู้สึกว่าเปลี่ยนในตอนใช้งานจริงๆ ผมรู้สึกว่าคือในหน้า Task เพราะ ClickUp Mobile 3.0 ปรับเปลี่ยนในส่วนนี้เยอะพอสมควร จนตอนแรกหากยังไม่ชินจะรู้สึกขัดๆ ได้ โดยเฉพาะการเข้าถึง Subtask และ Checklist แต่สำหรับคนที่เพิ่มเริ่มใช้งานผมว่า ตอบโจทย์ในการใช้นอกสถานที่เป็นอย่างดี หรือ ใช้ในการจัดการชีวิตทั่วๆ ไป ได้อย่างสบายๆ เลยครับ
อยากได้บทความเรื่องอะไร หรือ หัวข้อแนวไหน สามารถแนะนำกันมาได้ที่แบบฟอร์มนี้เลยครับ ซึ่งข้อมูลที่ส่งจากแบบฟอร์มนี้จะถูกไปสร้างเป็น Clickup Task และสั่งงานผม ให้อัตโนมัติเลยครับ